วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความ 5 บทความที่เกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

บทความที่ 1  กิจกกรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                 ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรี  การพูด และตามด้วยกรเขียน  การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
    สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
    * พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด  การฟัง  ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
    * พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
    * พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
    * พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
     กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
     - กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
     - กิจกรรมเล่าเรื่อง
     - กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
     - กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
     - กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
     - กิจกรรมสนทนา
     - กิจกรรมการเขียน
     - กิจกรรมบอกชื่อ
     - กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
     - กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน  

ที่มา http://soavaluc.igetweb.com/articles/442862/กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.html


    บทความที่2   ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของสื่อ

        การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก ปัจจัยหนึ่ง ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ..... สื่อประกอบการจัดกิจกรรม เพราะสื่อมี บทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เจตคติ ค่านิยม รวมทั้งทักษะต่างๆ การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพรวมทั้งต้องรู้จักวิธีการเก็บรักษาสื่อ
สำหรับเนื้อหาในตอนนี้มีสาระที่น่าสนใจดังนี้
3.1 ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของสื่อ
3.2 วิธีการเลือกใช้สื่อสำหรับเด็กและข้อควรระวังในการใช้สื่อ
3.3 การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ



ความหมายของสื่อ
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด



ความสำคัญของสื่อ
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน”
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน

ประเภทของสื่อ สื่อการสอนแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ



        อย่างไรก็ดีสื่อการสอนดังกล่าวแม้จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย แต่การจะใช้สื่อการสอนสำหรับเด็ก ปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระ การสอนที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจของเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

ที่มา https://www.l3nr.org/posts/260089

บทความที่ 3 บทความสื่อ: ประโยชน์ของนิทาน เพลง คำคล้องจอง

  โดย: สดใส โชติกเสถียร

      จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อยู่ที่สมอง
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้เชื่อว่าหลายคงเคยได้ยินเรื่องสมองมาบ้าง คนส่วนใหญ่ชอบเปรียบเทียบว่า สมองของเด็กเมื่อครบกำหนดคลอดเปรียบเสมือนฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพต่อเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมเปรียบเสมือนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนั่นเอง สมองของเด็กจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ซึ่งจะทำให้สมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อขึ้นอีกจำนวนมากมาย ยิ่งสมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อมากขึ้นเท่าไหร่ เด็กก็จะฉลาดขึ้นมีความสามารถมากขึ้นเท่านั้น

สมองเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกเดือนของระยะตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ห้าโครงสร้างแต่ละส่วนของสมองเริ่มสมบูรณ์ ผิวของทารกไวต่อการสัมผัส ทารกเริ่มควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ในเดือนที่หกและเจ็ดสมองมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจำนวนเซลสมอง ใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น แต่ผิวสมองยังไม่มีรอยหยักยังคงราบเรียบ เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์สมองเริ่มมีรอยหยักมากขึ้นเพื่อรับข้อมูล เซลล์สมองและวงจรประสาททำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์

ในปัจจุบันมีข้อมูลความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของสมองกับการพัฒนาเด็ก สมองแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ต่างกัน อาทิ สมองส่วนหลังจะเป็นส่วนที่ควบคุมการมองเห็น สมองส่วนกลางควบคุมเรื่องการฟัง การรับรู้กลิ่นและการสัมผัส สมองส่วนหน้าควบคุมการเคลื่อนไหว และการคิด กล่าวก็คือสมองควบคุมประสาทสัมผัสทั้งห้าหรือประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานนั่นเอง เก้าเดือนของการตั้งครรภ์ประสาทสัมผัสด้านต่างๆก็เริ่มพัฒนา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สมองส่วนใดพัฒนาเมื่อไหร่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้ เนื่องจากการตอบสนองการกระตุ้นสมองในช่วงที่กำลังพัฒนาจะยิ่งทำให้ใยประสาทส่วนที่ได้ใช้หนาตัวขึ้นสมองยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากไม่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมสมองส่วนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกตัดทอนลง

ช่วงเวลาใดที่สมองพัฒนา
ทารกสามารถรับรู้รส เมื่อ 14 สัปดาห์ในครรภ์ ความสามารถด้านการฟังเริ่ม เมื่อ 16 สัปดาห์ 20 สัปดาห์ในครรภ์สามารถตอบสนองต่อเสียงนอกมดลูก สัปดาห์ที่ 24 เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก 28 สัปดาห์เริ่มมีปฎิกิริยาต่อแสงและความสามารถด้านการจำก็เริ่มพัฒนาขึ้นด้วย ถ้าใครเคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ต้องเคยได้รับคำแนะนำจากคุณหมอเช่นเดียวกับผู้เขียน และขอถือโอกาสเล่าให้คนที่ไม่มีประสบการณ์ฟังถึงสิ่งที่คุณหมอแนะนำ คือ ให้พ่อแม่หมั่นพูดคุยกับทารกในท้อง เปิดเพลง หรือร้องเพลงให้ทารกฟังเป็นประจำ เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการฟัง ในช่วงนั้นเวลาขับรถ ผู้เขียนก็จะเป็นเปิดเพลงบรรเลงที่มีจังหวะและทำนองทำให้ตนเองเพลิดเพลินไม่ง่วง ช่วงเย็นหลังเลิกงานเป็นเวลาที่ต้องการพักผ่อนก็จะฟังเพลงบรรเลงกีต้าร์คลาสสิกเบาๆ พอประมาณ เดือนที่ 7 ก็มีกิจกรรมส่องไฟฉาย บริเวณผนังหน้าท้อง ช่วงนี้ครรภ์จะมีขนาดใหญ่ ผนังหน้าท้องขยายทำให้แสงส่องผ่านไปถึงทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของทารก ปฏิกิริยาตอบสนองว่าทารกมองเห็นคือจะดิ้นหนีแสงไฟที่รบกวน ผู้เขียนทำเช่นนี้จนคลอด และหลังคลอดกิจกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่องคือการฟังดนตรี สิ่งมหัศจรรย์ที่พบคือ ลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่ายกินอิ่มเปิดดนตรีบรรเลงให้ฟังเบาๆ ก็หลับ จะตื่นอีกทีเมื่อหิว นอนหลับช่วงกลางคืนเป็นเวลานานไม่ร้องกวนกลางดึก อีกสิ่งที่ลูกทำได้ตั้งแต่เดือนแรกคือขณะนอนคว่ำสามารถพลิกศีรษะไปทางซ้ายและขวาได้เอง มีพัฒนาการด้านร่างกายเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกันเดินได้เองเมื่อ 10 เดือน เมื่อลูกอายุ 5 ขวบมีทักษะด้านการฟัง จำแนกแยกแยะเสียงที่ได้ยินดีมาก เสียงอะไรเบาๆก็ได้ยิน บางครั้งฟังเพลง 1 – 2 รอบก็สามารถฮัมทำนองเพลงได้ถูกจังหวะ ไม่ผิดคีย์ และหลายครั้งที่ดูหนังซึ่งจะมีเสียงดนตรีประกอบเบาๆไม่มีเนื้อร้อง ซึ่งผู้ใหญ่อย่างเราแทบไม่ได้ยินเนื่องจากไม่ได้สนใจเพราะมีสมาธิอยู่ที่เนื้อเรื่อง แต่ลูกกลับฮัมทำนองตามหรือพูดว่าเพลงนี้หนูเคยได้ยินที่....... ประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนนำมาเล่ายืนยันให้เห็นว่า ประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานถ้าได้รับการกระตุ้นตั้งแต่ในครรภ์จะส่งผลต่อพัฒนาการในวัยต่อมา

ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวว่า ใยประสาทสร้างมาจำนวนมากก่อนการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ง่าย คือถ้าคนไหนมีเครื่องมือในการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพย่อมเรียนรู้ได้อย่างดี หัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กคือทำอย่างไรให้เด็กมีเครื่องมือในการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพ สอนอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกเพลิดเพลินสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย สิ่งที่จะกล่าวต่อไปบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กจำเป็นจะต้องรู้ เนื่องจากการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กควรทำให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่ควบคุมพัฒนาการด้านต่างๆ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ที่มา http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research4.php


บทความที่ 4  การเลือกของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้


การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่น ให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้นรศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสมรศ.ดร.จิตตินันท์ บอกว่า เด็กปฐมวัยจะมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นในชีวิตประจำวันตามความสนใจ

และความพอใจของตนเอง ขณะที่เล่นนั้นเด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการสำรวจคุณสมบัติของสิ่งที่เล่น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เล่นด้วยหรือวัตถุสิ่งของหรือของเล่น พร้อม ๆ ไปกับการรับรู้สิ่งที่เล่นผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการทำงานของสมองในการจดจำเป็นข้อมูลความคิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้น

ที่มา http://soavaluc.igetweb.com/articles/442862/กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.html


บทความที่ 5    สื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัย


โดยทั่วไปแล้ว เด็กปฐมวัย มักได้รับแรงดึงดูดจากรายการโทรทัศน์ที่สอดแทรกภาพสีสดใส ตัวละครที่เคลื่อนไหว เคลื่อนอิริยาบถไปมา รวมถึงเสียงเพลงหรือดนตรีประกอบที่ร่าความสดใจ สื่อของเล่นจึงมักได้รับอิทธิผลจากรายการโทรทัศน์ที่มีการดัดแปลงเอาตัวการ์ตูนดังๆมาเป็นสื่อของเล่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความทันสมัย แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงการสร้างสรรค์จินตนาการโดยเหมาะสมแก่เด็ก หรือมีการกำหนดสาระเนื้อหาของสื่อ ที่เป็นเกมต่างๆ โดยสอดแทรก ความรุนแรง การต่อสู้ ซึ่งอาจบ่มฟัก ความก้าวร้าวหรือแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กได้เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจแก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในลักษณะและประเภทของสื่อ และเครื่องเล่นที่มีคุณภาพเหมาะสมของเด็กปฐมวัย ที่จัดหมวดหมู่ได้ดังนี้
สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ บล็อก รถ เครื่องบิน เครื่องปีนป่าย จักรยาน รถสามล้อเล็ก และอุป กรณ์งานไม้สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ดินน้ำมัน อุปกรณ์วาดรูป ระบายสีน้ำ เช่นพิมพ์ภาพ หยดสี สลัดสี เป่าสี เล่นกับสีเมจิก สีชอล์ค ร้อยเชือก ตัวต่อเลโก้ บล็อกชุดเล็ก เกมต่อภาพสื่อและเครื่องเล่นพัฒนาภาษาและการสื่อสาร ได้แก่ หนังสือนิทาน กระดาษและเครื่องเขียน กระดานไว้ท์บอร์ด แป้นพิมพ์ กระบะทราย หุ่นและตุ๊กตาสื่อและเครื่องเล่นพัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ อุปกรณ์เล่นน้ำ อุปกรณ์เล่นทราย อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ตวง วัด จุดบีบหยดยา กรงสัตว์ ตู้ปลา วัสดุธรรมชาติ เช่นใบไม้ รังนก ขนนก เปลือกไม้สื่อและเครื่องเล่นสมัยใหม่ ผลผลิตของเทคโนโลยีจำนวนหนึ่ง เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารที่คืบคลานเข้ามาสู่สัง คมมนุษย์อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เด็กปฐมวัยต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ ซึ่งสร้างความสะดวกสบาย และกลาย เป็นปัจจัยหลักของการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน สร้างความบันเทิงแก่สมาชิกครอบครัว และช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีความท้าทายยิ่งขึ้น พ่อแม่ และครูผู้สอน จึงต้องเรียนรู้ร่วมไปกับยุคสมัยและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น หันมาให้ความสำคัญและเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อสมัยใหม่ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น เปลี่ยนจากการใช้สั่งพิมพ์เป็นสื่อเป็น e-BOOK ซีดี และซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เพราะสิ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กในโลกปัจจุบัน


ที่มา https://www.l3nr.org/posts/260089

บันทึกครั้งที่ 15 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียน

จัดนิทรรศการสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย  ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 2







ผลงานของนักศึกษา








































รูปนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 ทั้งหมด



วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


อาจารย์สอนวิธีการทำโมบาย





หลังจากอาจารย์ก็ให้หัดลองทำเอง








ผลงานที่ได้^^


บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 18 พศจิกายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

อาจารย์เปิดตัวอย่างสื่อให้ดู และเปิดตัวอย่างเกมการศึกษาให้ดู.






หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่มช่วยกันทำเกมการศึกษา



ผลงาน




วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 11 พศจิกายน 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่12

1.สอนการทำสื่อ
2.เตรียมอุปกรณ์วัสดุเหลือใช้
3.เพื่อนนำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม
4.แบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อของเล่นหรือสื่อ

รูปภาพประกอบการเรียน






บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 4 พศจิกายน 2557

บันทึกการเรียน  ครั้งที่ 11


1.เรียนการทำสื่อ
2.ดูสื่อที่ใช้ในห้องเรียน เช่น ตารางเรียนประจำวัน ปฎิทิน วันเกิด สมาชิกในห้อง สภาพอากาศ เป็นต้น
3.สื่อที่ทำจากผัก เช่น หัวหอม เป็นต้น
4.เรียนการทำดอกไม้จัดบอร์ด ต้องไม้ที่ให้เป็นของขวัญ งานต่างๆ เป็นต้น
5.ทำสื่อในห้องเรียน  คือ ทำดอกไม้คนละ 1 ชิ้น
   


                             
                              ภาพประกอบการเรียน



                 ดูสื่อที่ทำจากผัก เช่น หัวหอม ทำเป็นรถไฟ เต่า เป็นต้น






ดูสื่อที่ใช้ในห้องเรียน 



ดูสื่อที่ใช้ในห้องเรียน







ดูขั้นตอนการทำดอกไม้จากกระดาษ และวิธีทำ และดูวิดีโอการทำ
























บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 28 กันยายน 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

1.เรียนการทำดอกไม้จากกระดาษทิชชู
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 1แผ่น
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 2 แผ่น
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 3 แผ่น
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 4 แผ่น
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 5แผ่น

2.เรียนการทำดอกไม้จากกระดาษหลายรูปแบบ หลายลักษณะ

3.เรียนการทำใบไม้จากกระดาษหลายลักษณะ และหลายแบบหลายแนว

4.ลงมือปฎิบัติในห้องเรียน

5.สั่งงานกลุ่มคืองานจัดบอร์ดดอกไม้  และงานเดี่ยวคือ งานดอกไม้ทีทำด้วยกระดาษ พร้อมส่ง

สัปดาห์ที่เรียนถัดไป
 

ภาพประกอบการเรียน


                ดูขั้นตอนการทำดอกไม้จากกระดาษทิชชู







 ทำดอกไม้จากกระดาษทิชชูจาก 1 แผ่น ไปจนถึง 5 แผ่น







ผลงานที่ทำจากกระดาษทิชชู